วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาโสเภณีในประเทศไทย


ความเป็นมาของโสเภณีไทย    
          สถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยหรือต่างประเทศก็มีปัญหาในเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือเรื่องทรัพยากรที่ลดน้อยลงจากภาวะโลกร้อนและอีกปัญหาหนึ่งที่ทุกประเทศมีคือ ปัญหาโสเภณี โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีตัวเลขทางสถิติบ่งบอกของการเพิ่มขึ้นของโสเภณีในประเทศไทย ตั้งแต่ปี.. 1957  ประเทศไทยมีโสเภณี   20,000  คน  มาเป็น 300,000 ในปี ค.. 1970 และเพิ่มขึ้นถึงกว่า700,000 คนในปี 1980 จะเห็นว่าตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ชาวต่างชาติ นิยามความหมายให้ประเทศไทยว่า คือประเทศโสเภณี ทำให้คนไทยรู้สึกไม่พอใจอย่างมาก และบางคนถึงกับร้องไห้ค่ำคราญกับสิ่งที่ได้ยิน
          แต่ถ้ามองดูจากประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจะเห็นว่าการค้าประเวณีนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 โดยไม่ได้ถูกนำเข้ามาจากชาติตะวันตกตามเรื่องเล่ากัน การค้าประเวณีในไทยเริ่มเป็นที่เริ่มเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตก ในช่วงที่มีการติดต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับชาวตะวันตก มีหลักฐานเป็นศัพท์ในสมัย สมเด็จพระนารายมหาราช  เรียกว่า เมียเช่า ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ใน ประมวลกฎหมายตรา 3 ดวง – บทพระไอยการลักษณะผัวเมีย มีการบัญญัติผู้ค้าประเวณีว่า หญิงนครโสเภณี และสมัยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีสถานประกอบการเรียกว่า โรงหญิงนครโสเภณี โดยทั่วไปมีโคมสีเขียวตั้งข้างหน้า จึงเรียกกันว่า สำนักโคมเขียว
         ทั้งนี้ก่อนปี พ.ศ. 2499 การค้าประเวณีไม่ถือว่า ผิดกฎหมาย แต่เมื่อเริ่มมี พระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 ได้กำหนดไว้ว่าการค้าประเวณีเป็นความผิดอย่างชัดเจน แต่ในสังคมยุคใหม่เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม โดยในช่วงนั้นการค้าประเวณีจะเป็นการลักลอบค้าประเวณี และปัจจุบันธุรกิจค้าประเวณีในประเทศไทยเป็นธุรกิจแอบแฝง (จตุพล ดอนโสม : 2008) ในธุรกิจการค้าประเวณีนั้นก็จะมีการแอบแฝงตาม ร้านอาหาร ผับ บาร์ แหล่งท่องเที่ยว อาบอบนวด โรงแรม หรือสถานที่พักผ่อนโดยทั่วไป รูปแบบของการทำธุรกิจของกลุ่มอาชีพนี้ก็จะมีหลากหลายวิธี เช่น  ยืนรอข้างถนน โดยการยืนรอคอยลูกค้าบริเวณหัวริมถนน และขายบริการทางเพศต่อในบริเวณโรงแรม หรือโรงแรมม่านรูด ในกรุงเทพ มีมากบริเวณ รอบสวนลุมพินี รอบสนามหลวง                                                                                                                     อาบอบนวด หรือ ซ่องเป็นสถานบริการทางเพศโดยตรง โดยผู้ขายบริการจะนั่งรอภายในสถานบริการและรอลูกค้าเข้ามาเลือก โดยในสถานบริการจะมีบริการจัดห้องไว้รับรอง ในประเทศไทยราคาการให้บริการมีตั้งแต่ 50 บาท จนถึงหลายหมื่นบาท สถานบริการอาบอบนวดมีกระจายในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ในกรุงเทพมีมากบริเวณถนนพระราม 9 ถนนเพชรบุรีสถานบันเทิง คาเฟ่ ร้านคาราโอเกะ หรือร้านตัดผม บางแห่ง มีการบริการพิเศษแอบแฝงเพิ่มเติม 
        และสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงตกอยู่ในสภาพลำบากยากแค้น ถูกกดขี่ขูดรีด และถูกกดขี่ทางเพศเสมือนสัตว์ รวมไปถึงสภาวะที่สตรีกลายเป็นสินค้ามนุษย์เพื่อบำบัดความใคร่ของผู้ชายทั้งในอดีตและปัจจุบัน ล้วนมีรากเหง้ามาจากระบบอำนาจและระบบเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนด ตลอดจนค่านิยมของสังคมศักดินาที่หล่อหลอมมโนทัศน์ของผู้หญิงในลักษณะเป็นเพศอ่อนแอ มีสถานภาพต่ำ เป็น ช้างเท้าหลัง และมีฐานะ บทบาททางสังคมด้อยกว่าผู้ชาย ผู้หญิงเป็นฝ่ายถูกกระทำและ ตกอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบอยู่เสมอ และระบบศักดินาที่อำนาจชายเป็นใหญ่ มีอำนาจในการออกกฎระเบียบของสังคม ซึ่งเป็นการออกกฎเพื่อให้ประโยชน์ของผู้ชายอยู่เหนือผู้หญิงและเป็นเจ้าของเรือนร่างของผู้หญิงหรือผู้หญิงเปรียบเสมือนกับผู้รับใช้ในบ้าน โดยมีคำพูดว่า หญิงเป็นควาย ชายเป็นคน
       
  และระบบเศรษฐกิจศักดินาจึงกุมชะตากรรมของผู้หญิงไว้ และจากสังคมศักดินาได้เปลี่ยนมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จากระบบศักดินาคืออำนาจชายเป็นใหญ่ ได้เปลี่ยนมาเป็นสังคมแบบทุนนิยมคือ อำนาจเงินเป็นใหญ่ ทำให้ทุกคนในสังคมต้องดิ้นรนต่อสู้ด้วยอำนาจของเงิน ถ้าใครไม่มีเงินในระบบทุนนิยมก็อยู่ไม่ได้ และอำนาจเงินนี้ส่งผลให้ทุกอย่างถูกตีค่าเป็นสินค้า และเงื่อนไขที่ชายเป็นใหญ่ที่ทุกคนยังยึดติดอยู่ทำให้มีอำนาจในการซื้อ ประกอบกับโครงสร้างของเศรษฐกิจที่เอารัดเอาเปรียบทำให้เกิดความยากจนขยายไปทั่วและความต้องการเงินของหญิงที่ยากจน รวมไปถึงเพศหญิงกลายไปเป็นสินค้าทางเพศ ได้ก่อให้เกิดโสเภณี โสเภณีเด็ก และการค้าหญิงข้ามชาติ และระบบทุนนิยมที่เห็นเงินเป็นสิ่งสำคัญที่สุดโดยไม่มองเห็นถึงสิ่งอื่นหรือ ศีลธรรม ขนบธรรมเนียมที่ดีงามแต่อดีตได้ถูกทำลายด้วยระบบทุน มันทำให้เกิดอาชญากรรม หรือสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นในสังคม ร่วมไปถึง ธุรกิจการค้าประเวณี แก๊งค้าหญิง มิจฉาชีพ มันทำให้มองเห็นความต่ำต้อยและย่ำยีผู้หญิงที่ยากจนก่อตัวเป็นความรุนแรงต่อผู้หญิง และการเกิดขึ้นของระบบทุนมาพร้อมกับการบริโภคนิยมเข้ามาด้วย ดังนั้นในการนี้มันก็เกิดเซ็กเพื่อบริโภคหรือการมองผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ ผ่านวาทกรรมที่ผู้ชายเป็นตัวกำหนดในสังคมไทยนั้นมันเป็นการยากที่จะหลุดพ้นจากอำนาจที่ระบบศักดินาสร้างให้คืออำนาจอธิปไตยคือสังคมชายเป็นใหญ่ ถึงจะมีกลุ่มคนหรือองค์กรพูดว่า ทุกคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคกันแล้วแต่ความเป็นจริง สังคมแบบชายเป็นใหญ่มันยังแฝงอยู่ภายใต้อำนาจบ้างอย่าง เช่น กระบวนการของการทำให้กลายเป็นสินค้าของเพศหญิง ผ่านในเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็น การประกวดนางงาม สมัยก่อนที่มีการจัดประกวดใช้ชื่อว่า นางสาวสยาม เป็นการประกวดที่เน้นคุณสมบัติของกุลสตรีไทย เช่น ความอ่อนหวาน กิริยามารยาทงดงามตามแบบไทยแต่ปัจจุบันการประกวดนางงามเป็นการโชว์เรือนร่างและความสวยมากว่าความสามารถหรือ หาหญิงสาวที่เพียบพร้อมทั้งกริยามารยาท
      
          และความสวยเหมือนสมัยก่อน เวทีการประกวดทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นในระดับประเทศ จังหวัด หรือเทศการต่างๆที่มีการจัดประกวดขึ้น ชุดที่ใส่ประกวดมีลักษณะนุ่งน้อยห่มน้อยมากขึ้น และมีลักษณะที่ยั่วยวน ความงามของผู้หญิงถูกสร้างให้เป็นสินค้าเพื่ออวดโฉม ในสื่อโฆษณาสินค้าที่ใช้ผู้หญิงมาเป็นแบบไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาหมากฝรั่ง ยาดับกลิ่น เครื่องสำอาง เสื้อผ้าและของใช้เครื่องอุปโภคบริโภคแทบทุกชนิด ที่มีผู้หญิงนุ่งน้อยห่มน้อยเพื่อสื่อถึงสินค้าให้เกิดสิ่งที่น่าสนใจในสินค้าหรือดึงดูดใจเพศตรงข้าม และสถานบริการความงามต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายในยุคบริโภคนิยม ไม่ว่า ร้านเสริมสวย สถานบริการลดน้ำหนัก สถานบริการทำศัยกรรมความงามและต่างๆที่เกิดขึ้น เพื่อตอบสนองวาทกรรมว่า  ด้วยความงามที่ผู้ชายเป็นตัวกำหนดและให้คุณค่าแก่ผู้หญิง ผู้ชายบอกว่า ผู้หญิงหุ่นเพียว ขาว ตาโต ผมยาว หรือต่างๆอีกมากมาย ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างๆที่ผู้ชายกำหนดก็จะมีสิทธิ์หรือเป็นที่สนใจจากผู้คน แต่ถ้าหญิงนั้นมีลักษณะตรงข้ามจากวาทกรรมความงามนั้นก็จะหันไปพึ่งบริการต่างๆที่ช่วยเสริมความงามของตนเอง นี้คือสิ่งที่ทำให้ผู้หญิงกลายเป็นสินค้าที่ใช้ดึงดูดเพศตรงข้าม และทุกวันนี้แนวคิดการมีเพศสัมพันธ์นั้นเป็นเรื่องธรรมดาของวัยรุ่นเพราะเงื่อนไขและกลไกของการกระตุ้นความอยากและอารมณ์ทางเพศ ซึ่งปัจจุบันไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องแฟชั่น การแต่งกายกับภาพที่ถูกสะท้อนออกมาตามแคมเปญ หรือตามความต้องการของโฆษณาต่างๆ เท่านั้น หากแต่สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ ใบปลิว ฯลฯ เกือบทุกฉบับ ทุกชนิด รวมไปถึงการแสดงออกทางสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่ อินเตอร์เน็ต และแทบทุกธุรกิจต่างขานรับแนวคิดของการใช้ “ สรีระ แรงดึงดูดทางเพศ ” เป็นจุดขายในการนำเสนอ บริการจนไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆที่วางขายตามท้องตลาด นั่นก็หมายถึง “ สื่อ ” มีอิทธิพลอย่างมาก ที่ส่อแนวทางในการนำเสนอด้านความต้องการทางเพศ ออกมาสู่สังคม ซึ่งก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบ ของวันรุ่นไทย และนำไปสู่การกระทำที่มิชอบ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนหรือการขายบริการทางเพศของวัยรุ่น
และมันทำให้ผู้หญิงต้องถูกครอบงำจากวาทกรรมความงามชิ้นนี้ผ่านโลกของทุนนิยมและการบริโภคนิยมโดยที่ผู้หญิงไม่รู้ตัว และเมื่อยุคโลกไร้พรมแดนหรือในโลกยุคโลกาภิวัตน์ การค้าหญิง โสเภณีข้ามชาติ หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ทำได้รวดเร็วมากขึ้น ด้วยทุกวันนี้มีบริการสื่อไร้สายคืออินเตอร์เน็ต
ในการค้าหญิงข้ามชาติได้กลายเป็นเครือข่ายธุรกิจทางเพศขนาดใหญ่ที่บีบคั้น และหลอกลวงหญิงสาวให้ตกเป็นเหยื่อโดยบอกว่า จะพาไปทำงานในต่างประเทศแต่พอไปถึงกับต้องเป็นโสเภณีในต่างประเทศ ที่ต้องเผชิญชะตากรรมต่างๆในต่างประเทศ ภาพสะท้อนจากชะตากรรมในต่างประเทศของเด็กและหญิงสาวที่ตกเป็นเหยื่อ ได้ทำให้เห็นถึงระบบทุนนิยมไร้พรมแดนที่ล่วงเลยขอบเขตทางร่างกาย สู่มายาภาพ ทางอินเตอร์เน็ตเพื่อบำบัดความใคร่และสร้างรายได้มากที่สุด และการที่ทางรัฐบาลได้มีโยบายจดทะเบียนโสเภณี นั้นยิ่งจะเป็นเหมือนกับการตอกย้ำให้เขารู้สึกว่าชาตินี้เขาจะต้องเป็นโสเภณีตลอดชีวิตและเหมือนกับมีบัตรโสเภณีออกมาจะยิ่งเป็นการตีตราหรือให้ความหมายในทางไม่ดีกับพวกเขามากยิ่งขึ้น เพราะการเข้ามาทำอาชีพนี้บางคนหรือส่วนมากก็ไม่ได้เต็มใจที่จะเข้ามาแต่มันมีปัจจัยในหลายๆด้านทำให้พวกเขาต้องยึดอาชีพนี้ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเข้ามาสู่อาชีพการเป็นโสเภณี เช่น เศรษฐกิจ  การศึกษา นโยบายของรัฐ หรืออาจเป็นการหาเลี้ยงดูตัวเองหรือครอบครัว เป็นต้น และถ้าเรามองผ่านมิติทางเพศของกระบวนการทำให้เขาเป็นหญิงขายบริการทางเพศ ผ่านในเรื่องของเพศวิถีและเพศสถานะว่าสิ่งที่เขาเกิดมาในการเป็นมนุษย์นั้นมันมีอะไรที่คอยครอบงำความเป็นเพศไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชายและสิ่งที่เขาเป็นหรืออาชีพที่เขาทำมันเกิดจากกระบวนการเรื่องเพศหรืออาชีพโสเภณีเป็นสิ่งที่สังคมไทยยอมรับและเข้าใจมันมากน้อยเพียงใด  ถ้าเรามองผ่าน  เพศสถานะ  ระหว่างเพศหญิงกับเพศชายหรือผู้หญิงกับผู้ชายเท่านั้น เพราะเป็นสิ่งที่เราสามารถมองเห็นและเข้าใจได้ง่าย และนอกจากความแตกต่างทางเพศดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ยังมีความเลื่อมล้ำทางเพศ และการเอารัดเอาเปรียบกันทางเพศเกิดขึ้นอีกด้วย                                                                                                     
จากสังคมอุตสาหกรรมและการผลิต มีการแบ่งแยกประเภทของงานตามเพศของคนทำงานอย่างเห็นได้ชัด เช่น งานประกอบคอมพิวเตอร์ ที่มักกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ชาย ส่วนผู้หญิงก็ทำหน้าที่ที่เบากว่า ด้วยการพับกล่องใส่คอมพิวเตอร์ที่ประกอบเสร็จแล้ว แล้วนายจ้างก็จะจ่ายค่าแรงให้กับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ทั้งๆที่งานที่ผู้ชายทำนั้นผู้หญิงบางคนก็สามารถทำได้เช่นกัน เป็นต้น และนี่ก็คือความเลื่อมล้ำบางส่วนที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน
เท่านั้นยังไม่พอ เพราะยังมีความเลื่อมล้ำทางเพศอีกเหตุการณ์หนึ่ง ที่ทำให้ผู้หญิงเราต้องรับบทหนัก นั่นก็คือ การที่ผู้หญิงเราในสังคมปัจจุบันนี้ ต้องทำงานทั้งภายในและภายนอกครอบครัว ด้วยการออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อหารายได้เข้าครอบครัวอีกทางหนึ่ง แล้วยังต้องทำหน้าที่แม่เพื่อเลี้ยงดูลูกอยู่ที่บ้าน พร้อมทั้งทำหน้าที่เมียเพื่อคอยหุงหาอาหารและปรนนิบัติสามีอีกด้วย ก็เพราะเป็นเช่นนี้ จึงทำให้ผู้หญิงบางกลุ่มออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมและสิทธิที่เท่าเทียมกับผู้ชายให้เกิดขึ้นในสังคม นั่นก็คือ กลุ่มสตรีนิยม” ที่คอยเรียกร้องให้สังคมยอมรับและมีความเท่าเทียมกับผู้ชายในด้านต่างๆของผู้หญิงอย่างเราๆบ้าง                                                                                        
 เพศสถานะ  ก็คือ สถานะทางเพศในสังคม กล่าวคือ บทบาทหน้าที่และความสำคัญทางเพศที่มีอยู่ในสังคม/ชุมชน และเพศชายก็มักที่จะมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญกว่าเพศหญิง เพราะสังคมมักมองว่าผู้ชายเป็นเพศที่เข้มแข็ง หนักแน่น เด็ดขาด กล้าตัดสินใจ และมีความเป็นผู้นำ แต่สำหรับผู้หญิงสังคมมักมองว่าเป็นเพศที่อ่อนแอ แปรปรวนทางอารมณ์ง่าย อ่อนไหวง่าย และมีการตัดสินใจที่ไม่เด็ดขาดนัก
     
          ในส่วนของ “เพศวิถี” ในมิติและรูปแบบต่างๆ ถูกให้ความหมายว่า ปกติ” หรือ ผิดปกติ” “เหมาะสมหรือ ไม่เหมาะสม” อย่างแตกต่างกันไปในและสังคม วัฒนธรรม ชนชั้น ชาติพันธุ์ และยังเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่น เพศสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันถือเป็นสิ่งผิดปกติและไม่ใช่เพศวิถีที่สังคมยอมรับในบางยุคสมัย เป็นต้น  เพศวิถีจึงถูกจัดแบ่งออกเป็นเพศวิถีกระแสหลักและเพศวิถีกระแสรอง ขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างอำนาจในสังคมนั้นๆ เป็นอย่างไร โดยเพศวิถีกระแสหลักจะถือเป็นมาตรฐานของสังคมที่ผู้คนต้องปฏิบัติตาม แต่สำหรับสังคมไทยปัจจุบันซึ่งมีรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบเพศชายเหนือกว่าเพศหญิง ส่งผลให้มาตรฐานเรื่องเพศวิถีของไทย มีลักษณะมาตรฐานซ้อน คือ เพศหนึ่งมีความชอบธรรมที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางเพศ แต่ถ้าอีกเพศหนึ่งกระทำในสิ่งเดียวกันนี้ กลับกลายเป็นเรื่องผิด เช่น ผู้ชายสามารถเสพสื่อโป๊ได้อย่างสะดวกสบายใจ ไร้สายตาตำหนิ แต่ผู้หญิงต้องหลบซ่อน และมีสื่อโป๊ให้เลือกเสพได้น้อย เพราะสื่อโป๊ถูกผลิตจากมุมมองของผู้ชาย เพื่อความสุขทางเพศของผู้ชายเป็นหลัก เหมือนกันกับการที่ผู้หญิงขายบริการทางเพศที่สังคมมองว่าผู้หญิงผิด ไม่ดีด้วยสายตาและการมีอำนาจบางอย่างคอยครอบงำแต่ถ้าผู้ชายออกไปหาความสุข หรือมีเมียน้อยกับไม่เคยโทษผู้ชายอีก หากแต่สังคมมองว่ามันเกิดจากผู้หญิงที่ไม่เอาใจใส่ ปรนนิบัติไม่ดีหรืออะไรอีกมากมายที่สังคมจะบอกว่าผู้หญิงผิด
ดังนั้น  เพศวิถีจึงสะท้อนให้เห็นในเรื่องของการก่อกำเนิดของความคิดความเชื่อเรื่องเพศในรูปแบบต่างๆ และเน้นเรื่องความเสมอภาคทางเพศ การเคารพสิทธิและความหลากหลายทางเพศ การไม่กระทำความรุนแรงทางเพศ การสร้างสัมพันธภาพ และเรียนรู้ระหว่างคนเพศต่างๆ
ในส่วนของมิติทางวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยว  เป็นอีกมิติหนึ่งที่ก่อให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจการท่องเที่ยวในมุมกว้าง  ซึ่งส่งผลให้มีการขยายไปเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่  ที่นำมาสู่การบริโภค  และการบริโภคของนักท่องเที่ยวนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการบริโภคทางเพศ  เพราะในสังคมทุนนิยม  เซกส์ถูกนำเสนอในรูปของสินค้ามากมายหลายประเภทและการท่องเที่ยวในประเทศไทยมีการขยายกิจการซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมากมาย  รวมทั้งการจัดสร้างโรงแรมและสถานบริการอื่นๆ  เพื่อรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยว  เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มตัวขยายสูงขึ้น  อย่างรวดเร็วและการเจริญเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น  จนกลายเป็นช่องทางนำเงินเข้าประเทศอย่างมหาศาล  มีความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุเป็นผลกับจำนวนโสเภณีที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน  แต่ความเป็นจริงที่ว่า  การจัดกิจกรรมเซ็กส์ทัวร์โดยบริษัทท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกประเทศให้เข้ามาแสวงหาความสุขตามสถานท่องเที่ยวและแหล่งเริงรมย์ต่างๆ ในประเทศไทย  แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าธุรกิจท่องเที่ยวและการค้าประเวณีของหญิงไทย  มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ  ภาพพจน์ของสถานเริงรมย์ต่างๆ  ในประเทศไทยตั้งแต่  พัฒน์พงศ์จนถึงพัทยา เป็นภาพของสถานบริการทางเซ็กส์หรือการค้าประเวณีในทุกรูปแบบซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ  และเป็นกิจกรรมที่ได้รับการจัดตั้งในรูปขององค์กรขนาดใหญ่  มีสายใยความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างบริษัททัวร์ภายในและต่างประเทศ  ตลอดจนนายทุนเจ้าของสถานเริงรมย์ต่างๆ                                                        
 และในอีกมิติหนึ่งคือมิติของการพัฒนา คือการที่สังคมต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศจากระบบสังคมศักดินาหรือต้องการเข้าถึงความเจริญเติบโตที่ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหรือแม้แต่การบริโภค สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่มีน้ำใจ ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายเมื่อกระแสของการพัฒนาประเทศไปสู่ความเจริญ ประเทศไทยมีการเปิดการค้าเสรี ระบบทุนนิยมแผ่ขยายอำนาจเข้ามาและมาพร้อมกับกระแสบริโภคนิยม และจากสังคมที่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย อยู่กันเหมือนพี่เหมือนน้องก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสระบบทุนที่มีอำนาจเงินเป็นใหญ่ 
เบื้องหลังความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจทุนนิยม ซึ่งกำกับโดยกลุ่ม “นายทุน” และ ขุนนาง” ให้ตกเป็นเหยื่อและรองรับกับ อาการข้างเคียง  ของความสำเร็จและความก้าวหน้าในระบบทุนนิยมอย่างน่าสมเพทเวทนา เช่น คนไทยที่อยู่ในวัยพอที่จะพูดได้ พูดเป็น ตื่นเช้ามาก็เกิดการบริโภคคลื่นเสียงแห่งการพูดคือการใช้โทรศัพท์มือถือ สายมากินอาหารประเภท fast food บ่ายมาเข้า Theater ตกเย็น เข้าสถานบันเทิงเริงรมย์ดื่นสุรา และเสพสารเสพติดเสพกามา ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมไม่จบสิ้น และการพัฒนาเข้ามามันทำให้เกิดช่องว่างของรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันแม้เราจะเป็นประเทศที่อยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ทุกคนในสังคมมีสิทธิ เสรีภาพ
     
        และความเสมอภาคกันแต่การกำหนดค่าแรง หรือหน้าที่ในการกำหนดตำแหน่งงานที่ไม่เท่าเทียม ส่วนใหญ่ในการทำงานเขาจะเลิกรับผู้ชายและจะพิจารณาผู้หญิงเป็นอันดับสุดท้าย เพราะการมองว่าผู้ชายเป็นเพศที่เข้มแข็ง มีความอดทน และมีความรู้มากกว่าผู้หญิงกลับกันผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ ความอดทนต่ำ ทำให้การเลือกคนเข้าทำงานจึงเป็นผู้ชายมากว่าผู้หญิง และยังเกิดการกดค่าแรงของผู้หญิงให้ต่ำกว่าผู้ชาย เช่นการทำงานก่อสร้างที่เห็นได้ชัดส่วนมากจะมีแต่แรงงานผู้ชาย แรงงานผู้หญิงในการก่อสร้างก็จะมีหน้าที่แค่ขนอิฐ ขนปูน ขนทราย ดังนั้นจะเห็นว่าค่าแรงก็จะถูกกำหนดด้วยคุณสมบัติหรือหน้าที่ของผู้หญิง เป็นต้น และกระบวนการของการพัฒนาก็ทำให้อาชีพการค้าประเวณีหรือหญิงโสเภณีเป็นคนชายขอบของสังคมสังคมไม่ให้ความสำคัญหรือไม่เหลียวแลเนื่องจากวัฒนธรรมหรือแบบแผนที่แสดงออกมาไม่เหมือนกับคนกลุ่มใหญ่และยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมวงกว้างโดยคนชายขอบนั้นเกิดจากการจัดวางทางสังคม ความเป็นอื่นที่ถูกให้ความหมายโดยสังคมและความเป็นอื่นที่มักถูกมองว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากจุดอ่อนหรือเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ก่อนแล้ว นี้คือกระบวนการทำให้เป็นชายขอบ การที่กำหนดหรือบอกว่าโสเภณีเป็นบุคคลชายขอบทางการพัฒนานั้นเพราะสังคมส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังไม่ยอมรับอาชีพนี้และเนื่องจากสังคมได้ปลูกฝังขนบธรรมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม เป็นจารีตที่ทุกคนต้องถือปฏิบัติร่วมกันคือการที่ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว เป็นแม่ศรีเรือน ต้องอยู่ในครรลองครองธรรมนี้คือผลของการพัฒนาทำให้เกิดขบวนการของการค้าประเวณีที่มันเกิดจากระบบเศรษฐกิจที่ทุกคนต้องดิ้นรนและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้เข้ากับระบบเศรษฐกิจของทุนนิยม